สรุปเหตุการณ์ทั้งหมด 10 ข้อ 1. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ราคาหุ้น MORE ปรับลงแรงประมาณ 30% จากตอนเช้าที่ 2.90 บาทต่อหุ้น ก่อนปิดตลาดเหลือ 1.95 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดของวัน (Floor) คาดว่าผู้ถือหุ้น Panic Sell เพราะช่วงนั้นมีข่าวลบเกี่ยวกับหุ้น 2. ข่าวที่ว่าคือ ข่าวลือว่ามีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คีย์ออเดอร์ผิด โดยเคาะราคาต่ำผิดปกติ (แล้วดันมีคนมาแมชออเดอร์ด้วย) กับข่าวที่ราคาหุ้นแปลงสิทธิ (Warrant) ของบริษัทฯ MORE-W2 ร่วงเหลือ 0.01 บาท ทั้งที่ราคาแปลงสูงถึง 2.00 บาท (อัตราแปลง 1 : 1) 3. แต่ในวันเดียวกับ บริษัทฯ ก็ส่งหนังสือชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า บริษัทฯ ไม่ได้มีพัฒนาการสำคัญอะไรที่ส่งผลให้ราคาหุ้นผันผวนผิดปกติ และถ้ามีจะแจ้งให้ทราบต่อไป 4. วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ออกแถลงการณ์ เตือนผู้ถือหุ้นให้ใช้ความระมัดระวังก่อนเทรดหุ้น MORE เพราะราคาหุ้นยังร่วงต่อเนื่องจากราคา Floor (วันนั้นปิดที่ 1.37 บาทต่อหุ้น) รวมถึงกำชับให้บริษัทหลักทรัพย์ (Broker) ดูแลการซื้อขายอย่างใกล้ชิด 5. ในวันเดียวกัน หุ้น MORE แจ้งงบไตรมาส 3 ปี 2565 ขาดทุน 6.83 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 89.48 ล้านบาท ส่วน 9 เดือนแรกของปีนี้ยังกำไร 22.15 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 111.27 ล้านบาท 6. 12-13 พฤศจิกายน 2565 กระแสหุ้น MORE ยังได้รับความสนใจต่อเนื่อง เพราะมีข้อสันนิษฐานว่า ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงแรงอาจเป็นความตั้งใจของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ตั้งนอมินีมารับซื้อหุ้นที่ขาย แต่เป็นการซื้อด้วยบัญชี Margin (กู้เงิน Broker มาซื้อหุ้น) วงเงินประมาณ 4,500 ล้านบาท 7. ข้อสันนิษฐานนี้ได้รับการยืนยันในคืนวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) เตรียมจัดงานแถลงข่าวเช้าวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น MORE 8. ประเด็นการทุบหุ้น MORE เริ่มบานปลาย เพราะมีรายงานข่าวว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เข้ามาตรวจสอบความผิดปกติ และจะใช้อำนาจของ ปปง.ขอให้ธนาคารระงับการถอนเงินค่าขายหุ้นออกไปก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ 9. วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ตลาดหลักทรัพย์ฯ กับ สมาคมหลักทรัพย์ประเทศไทย ชี้แจงว่า กรณีหุ้น MORE ไม่ได้ส่งผลกระทบกับบริษัทหลักทรัพย์ การส่งมอบหุ้น และภาพรวมของตลาดหุ้น แต่ได้สั่งระงับการซื้อขาย (SP) ไปก่อนจนกว่าจะมีความคืบหน้า และปฏิเสธจะให้รายละเอียดที่เกี่ยวกับหุ้น MORE เพิ่มเติม เพราะอาจมีผลต่อรูปคดี 10. บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียนหลายแห่ง ทยอยออกมาชี้แจงว่า กรณีที่เกิดขึ้นกับหุ้น MORE ไม่กระทบต่อพื้นฐานและฐานะทางการเงินของตัวเอง ส่วน ‘อมฤทธิ์ กล่อมจิตเจริญ’ ซีอีโอและผู้ถือหุ้นใหญ่ของ MORE ชี้แจงว่ายังถือหุ้นครบและไม่คิดจะขายออก อดีตของหุ้น MORE อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้นักลงทุนไม่สบายใจ คือ ประวัติที่ผ่านมาของหุ้น MORE โดยในช่วงปี 2561 อดีตผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท ดีเอ็นเอ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ DNA ชื่อเดิมของหุ้น MORE เคยมีส่วน เกี่ยวข้องกับคดีฉ้อโกงบิตคอยน์ (Bitcoin) และคดีฟอกเงิน ในปีเดียวกัน DNA ยังขายบริษัทย่อย บริษัท ดีเอ็น เอ รีเทล ลิ้งค์ จำกัด (DRL) ที่เป็นรายได้หลัก ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางกับความเห็นของที่ปรึกษาทางการ เงินอิสระ (IFA) และอาจเสี่ยงถูกเพิกถอนออกจากตลาดหุ้น อีกทั้งยังทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องออกหนังสือ เตือนนักลงทุนให้ศึกษาข้อมูลให้รอบครอบอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีความไม่สบายใจต่อแพทเทิร์นของราคาหุ้น MORE ในตอนนี้ ที่คล้ายกับราคาหุ้น DNA กล่าวคือ ถูกลากขึ้นไปสูงๆ ในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ถูกทุบราคาลงมาเพราะข่าวร้าย รวมถึงการมีรายชื่อ นักการเมืองเคยเป็นอดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทเดิมก่อนเปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 อันดับแรกของหุ้น MORE คือ 1. อมฤทธิ์ กล่อมจิตเจริญ จำนวน 1,547,200,165 หุ้น สัดส่วน 23.69% 2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวน 886,525,028 หุ้น สัดส่วน 13.57% 3. ศิริศักดิ์ ปิยทัสสีกุล จำนวน 742,862,800 หุ้น สัดส่วน 11.37% 4. อภิมุข บำรุงวงศ์ จำนวน 586,778,233 หุ้น สัดส่วน 8.98% 5. วสันต์ จาวลา จำนวน 431,989,100 หุ้น สัดส่วน 6.61 จุดจบ “อภิมุข บำรุงวงศ์” หัวโจกปล้น MORE ปฏิบัติการปล้นโบรกเกอร์วงเงินประมาณ 4,500 ล้านบาท โดยการโยนคำสั่งซื้อขายหุ้นบริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE จำนวน 1,531.77 ล้านบาท ในช่วง ATO หรือราคาเปิดการซื้อขายเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า กลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังไม่กลัวการถูกลงโทษตามกฎหมายบ้างหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงแวดวงตลาดหุ้น และถูกพาดพิงว่าเกี่ยวข้องกับคำสั่งซื้อขายพิสดารหุ้น MORE โดยตกอยู่ในข่ายผู้ถูกจับตาว่า ร่วมขบวนการ ประกอบด้วย นายอภิมุข บำรุงวงศ์ หรือฉายา “ปิงปอง” อดีต มาร์เกตติ้ง บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด วัยเพียง 30 ปีเศษ นายอมฤทธิ์ กล่อมจิตเจริญ หรือเสี่ยม้อ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ MORE สัดส่วน 23.69% ของทุน จดทะเบียน และนายเอกภัทร พรประภา หรือไฮโซคิม ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนใน การปล้นเงินก้อนมหึมาจากโบรกเกอร์ แต่ข้อมูลคำสั่งซื้อขายหุ้น MORE จำนวน 1,531.77 ล้านบาท บ่งชี้ไปที่ นายอภิมุข ซึ่งอยู่ในฐานะหัวโจกของขบวนการ มีข่าวลือว่าตัวแทน หรือนอมินีที่เปิดบัญชีไว้กับโบรกเกอร์ประมาณ 20 แห่ง และรับใบสั่งขายหุ้น MORE ช่วง ATO หลายคนเผ่นหนีไปแล้วแต่นายอภิมุข ยังอยู่สู้กับกระแสลบที่พุ่งเข้าใส่ โดยนายอภิมุข ลาออก จากบริษัท หลักทรัพย์ กสิกรไทย มาหลายปีแล้ว หันมาเป็นนักลงทุนเต็มตัว และชักชวนนักลงทุนให้ร่วมลงทุน ซื้อขายหุ้น โดยอ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง ซึ่งมีนักลงทุนส่วนหนึ่งฝากเงินให้บริหารจัดการลงทุน จากข่าว รายงานว่าไม่รู้ว่าความร่ำรวยของนายอภิมุข มาจากแหล่งใด แต่ภายในเวลาไม่กี่ปีมีเงินนับพันล้านบาท ล่าสุด ไม่กี่วันก่อนตกเป็นข่าวฉาว เพิ่งอวดความร่ำรวยพร้อมไฮโซคิม โดยสะสมรถซูเปอร์คาร์มูลค่าประมาณ 250 ล้านบาท ส่วนปฏิบัติการปล้นโบรกเกอร์รวมประมาณ 30 ราย ไม่ใช่การจับเสือมือเปล่า แต่ต้องใช้เงินลงทุน ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยต้องทยอยเก็บสะสมหุ้น MORE จำนวนกว่า 2,000 ล้านหุ้น ทั้งถือในนามตัวเอง และถือผ่านนอมินี โดยหุ้น MORE จำนวนประมาณ 500 ล้านหุ้น ต้องนำไปวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อขอวงเงิน สินเชื่อเพื่อการซื้อหุ้น (หรือมาร์จิ้น) กับโบรกเกอร์ประมาณ 11 แห่ง และหุ้นอีกจำนวนกว่า 1,500 ล้านหุ้น จะต้องกระจายให้นอมินีถือไว้เพื่อรอคำสั่งขายผ่านโบรกเกอร์ประมาณ 20 แห่ง ไม่มีใครรู้ว่าต้นทุนหุ้น MORE ที่นายอภิมุข หรือผู้ร่วมขบวนการซื้อมาในราคาเท่าไหร่ ซึ่งหากคำนวณจากต้นทุนของเสี่ยม้อ (อมฤทธิ์ กล่อม จิตเจริญ) ที่เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน MORE เมื่อปลายปี 2563 จนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 จะอยู่ที่ราคาหุ้นละ 50 สตางค์ จากเหตุการณ์นี้สำนักงาน ปปง. ระบุว่า ได้สั่งอายัดทรัพย์สินของ อภิมุข บำรุงวงศ์ กับพวก โดยจาก การสืบสวนสอบสวนขยายผลพบว่ามีทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการทำความผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น บมจ.มอร์ รีเทิร์น (MORE) ถ้านายอภิมุข รู้จักพอ ชะตากรรมคงไม่ต้องเสี่ยงกับการทำผิด แต่เพราะไม่รู้จักพอ แม้ร่ำรวย เป็นเศรษฐีพันล้านแล้วก็ตาม แผนปล้นเงินโบรกเกอร์ 4,500 ล้านบาทจึงเกิดขึ้น ส่วนจะมีเสี่ยหุ้นคนไหน ไฮโซ คนใดร่วมขบวนการด้วยหรือไม่ จากนี้เป็นหน้าที่ของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางที่จะสืบสวนสอบสวน ปฏิบัติการปล้น 4,500 ล้านปิดฉากลงแล้ว โดยแผนที่นายอภิมุข หรือผู้ร่วมขบวนการวางไว้ไม่บรรลุ เป้าหมาย กลายเป็นการปล้น “ลม” สั่งซื้อหุ้น “ลม” เวลาขายจึงได้แต่ “ลม” เพราะคำสั่งขายหุ้น MORE ช่วง ATO จำนวน 1,531.77 ล้านหุ้น ถูกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง) สั่ง ระงับในวงเงินที่เกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป ส่วนคำสั่งซื้อหุ้น MORE เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยนายอภิมุข เบี้ยว การชำระค่าซื้อหุ้นมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาว่า ปฏิบัติการหลอกกินเงินโบรกเกอร์ครั้งนี้ นายอภิมุข คิดการ ใหญ่เกินไป มองโลกสวยเกินไป คิดว่าจะได้เงินก้อนโตมาง่ายๆ และกล้าเกินคนวัย 30 ปีเศษ เพราะไม่กลัว ความผิด ไม่กลัวชะตาชีวิตจะเปลี่ยน ไม่ตระหนักถึงคุกตะรางแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ถ้าปฏิบัติการของนายอภิมุข เกิดขึ้นในวันจันทร์ วางแผนโยนคำสั่งซื้อขายในวันจันทร์ ป่านนี้อาจโกยเงิน 4,500 ล้านบาทไปแล้ว เพราะทั้งตลาดหลักทรัพย์ ทั้งโบรกเกอร์อาจตั้งรับสถานการณ์ไม่ทัน แต่เหตุการณ์เกิดขึ้นมาแล้ว และประวัติศาสตร์ไม่มีคำว่า "ถ้า" ที่จะพลิกประวัติศาสตร์ที่ได้คำสั่งซื้อขายหุ้น MORE ในเช้าวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน หลังจากนี้คงจะมีการฟ้องร้องตามมาวุ่นวายหลายสิบคดี ทั้งคดี แพ่งและคดีอาญา มีทั้งนักลงทุนฟ้องโบรกเกอร์ที่ไม่ชำระค่าขายหุ้น และโบรกเกอร์ฟ้องนักลงทุนที่เบี้ยวชำระ ค่าซื้อหุ้น CEO-ผู้ถือหุ้นใหญ่ยันถือหุ้น MORE ครบ ปัดขายออก พร้อมให้ ตลท.-ก.ล.ต.เข้าตรวจสอบ นายอมฤทธิ์ กล่อมจิตเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.มอร์ รีเทิร์น (MORE) เปิดเผยว่า ในฐานะที่เป็นผู้ ถือหุ้นใหญ่ และซีอีโอ MORE ยืนยันว่า ยังถือหุ้นครบ 23.69% และไม่มีการขายหุ้นออกมาแม้แต่หุ้นเดียว ในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากเชื่อมั่นในปัจจัยพื้นฐานธุรกิจของบริษัทฯ ที่มีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก ทั้งจาก ธุรกิจน้ำประปาที่มีอายุสัมปทาน 25 ปี ทำให้มีรายได้ประจำ (Recurring Income) อีกทั้งยังมีที่ดินในทำเล ศักยภาพพร้อมพัฒนา รวมถึงได้ลิขสิทธิ์จัดงาน "Rolling Loud" ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2566-2571 พร้อมสิทธิขาดในการจัดงานในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย โดยนับตั้งแต่เข้ามาบริหาร MORE ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจและโครงสร้างการ บริหาร MORE ทำให้ฐานะทางการเงินมีความแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก โดยมีสินทรัพย์รวมมากกว่า 10,000 ล้านบาท มีสภาพคล่องทางการเงิน อีกทั้งยังมีเงินที่ได้รับจากการใช้สิทธิแปลงสภาพ MORE-W2 กว่า 700 ล้านบาท รวมถึงมีพอร์ตลงทุนในบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MORE กล่าวยืนยันว่า พร้อมที่จะให้หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนเข้ามา ตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส โดยตั้งแต่ที่เข้ามานั่งซีอีโอ MORE ดำเนินธุรกิจบริษัทฯ ยังไม่เคยถูกฟ้องร้องแต่ อย่างใด มีแต่คดีที่ MORE เป็นผู้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีกว่า 800 ล้านบาท "อยากฝากถึงผู้ถือหุ้นและนักลงทุนอย่าตกเป็นเครื่องมือข่าวลือที่แพร่สะพัดออกมาในทางลบ ผม พร้อมอยู่เคียงข้างผู้ถือหุ้นทุกคน โดยในช่วงที่ผ่านมา ผมไม่มีการขายหุ้นออกมาแม้แต่หุ้นเดียว และขอ เรียกร้องให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต.ตรวจสอบออเดอร์ปริศนาที่เป็นต้นเหตุทำให้ราคาหุ้น MORE ร่วงติด ฟลอร์ 2 วันติดต่อกัน" MORE ปัดทำราคาหุ้นต่ำ เอื้อเพิ่มทุนพีพี “อมฤทธิ์” ย้ำเดินหน้าตามแผน บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE ออกหนังสือชี้แจงข้อซักถามของสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เกี่ยวกับข้อเท็จจริงและผลกระทบจากเหตุการณ์การซื้อขายหุ้น MORE ที่ผิดปกติในช่วงวันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2565 และการชำระราคาหุ้น รวมทั้งความสมเหตุสมผลของ การออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (PP) ให้กับ นายอมฤทธิ์ กล่อมจิตเจริญ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเพิ่ม จำนวน 300 ล้านหุ้น และการขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดย อาศัยมติที่ประชุมของผู้ถือหุ้น (whitewash) จากการชี้แจง สาเหตุที่บริษัทฯ ยังเดินหน้าทำตามแผนเดิมเนื่องจากหากการเกิดความไม่แน่นอนใน แผนการร่วมลงทุนเพื่อจัดคอนเสิร์ต Rolling Loud หากมีการถอนตัวจากผู้ร่วมทุน ทำให้บริษัทฯ ต้องคืนเงิน มัดจำและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งงบประมาณต้นทุนโครงการ Rolling Loud ทั้งหมดอยู่ที่ราว 899 ล้านบาท แต่จำนวนเงินที่ได้รับจากการใช้สิทธิแปลงสภาพ MORE-W2 อยู่ที่มีราว 6 700 ล้านบาทอาจไม่เพียงพอ หากบริษัทยกเลิกการเพิ่มทุน PP แล้วผู้ร่วมทุนเดิมถอนตัว จะทำให้หาผู้ร่วมทุน ใหม่ยากขึ้นไปอีก อาจทำให้บริษัทต้องจัดคอนเสิร์ตเพียงผู้เดียว และบริษัทไม่มีแหล่งเงินทุนอื่น รวมทั้งยังมี ความเสี่ยงในการถูก Rolling Loud USA ฟ้องร้อง จึงมีความจำเป็นต้องออกหุ้นเพิ่มทุน ทั้งนี้บริษัทยังยืนยันที่ จะจัดการประชุมผู้ถือหุ้นตามกำหนดเดิมในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ขายหุ้นใน เหตุการณ์วันที่ 10-11 พฤศจิกายน ยังคงมีสิทธิออกเสียงหากถือหุ้นมาก่อนวัน record date แม้ว่าอาจจะทำ ให้การออกเสียงไม่ได้สะท้อนเสียงของผู้ถือหุ้น ณ ปัจจุบันที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ แต่ทุก อย่างเป็นไปตามเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ ตามกฎหมายที่มีมาก่อน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่นอกเหนือการ ควบคุมของบริษัทและหากบริษัทต้องกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (RD) เพื่อเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ใหม่ด้วย ระยะเวลาตามข้อกฎหมาย และต้องใช้เวลาจัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศต่างๆ จะทำให้บริษัทไม่สามารถจัด ประชุมได้ทันตามกำหนดการเดิมภายในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่จากการเลื่อนแผนงานต่างๆ ที่เตรียม ไว้ล่วงหน้าร่วมกับทีมงาน, สปอน์เซอร์, บริษัทร่วมทุน และเอเจนซี่ ต่างๆ นอกจากนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของบริษัทฯ เป็นอย่างมาก ทำ ให้เกิดประเด็นข้อสงสัยและความไม่แน่ใจในความสามารถที่จะดำเนินการโครงการคอนเสิร์ต Rolling Loud จากเจ้าของลิขสิทธิ์ หากไม่สามารถดำเนินตามแผนการจัดคอนเสิร์ตที่วางไว้ บริษัทยังคงมีความเสี่ยงที่จะโดน ฟ้องร้องจากเจ้าของลิขลิทธิ์ Rolling Loud อีกด้วย